หยก (Jade) คือชื่อที่ใช้เรียกหินซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล

ในอดีตเข้าใจกันว่าหยกมีเพียงชนิดเดียว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านเคมีมากขึ้น จึงสามารถแยกหยกได้เป็น 2 ชนิด คือ

เจไดต์ (Jadeite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นโซเดียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (NaAl (SiO3)2, Sodium aluminium silicate) มักมีสีเขียวเข้มสดกว่าเนฟไฟรต์ จัดเป็นหยกชนิดคุณภาพดี อยู่ในระบบผลึกแบบหนึ่งแกนเอียง โดยธรรมชาติมักพบเป็นก้อนเนื้อแน่นประกอบด้วยผลึกขนาดเล็กอยู่รวมกัน มีความวาวตั้งแต่แบบแก้วจนถึงแบบน้ำมัน หยกเจไดต์มีความแข็ง 6.5-7 มีสีในเนื้อพลอยเฉพาะตัว และมักไม่สม่ำเสมอ มีสีเข้มและจางของแต่ละผลึกรวมกันอยู่ โดยเฉพาะในพลอยก้อนจะมีลักษณะเป็นหย่อมสี พบว่าเกิดอยู่ในหินเซอร์เพนทีน ที่ได้จากการแปรสภาพของหินอัคนีชนิดที่มีแร่โอลีวีนอยู่มาก หรือมีโซเดียมอยู่มาก
เนฟไฟรต์ (Nephrite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมแมกนีเซียมซิลิเกต (Calcium magnesium silicate) อยู่ในระบบผลึกหนึ่งแก่นเอียง โดยธรรมชาติมักพบเกิดเป็นผลึกกลุ่มที่มีขนาดเล็กรุปเส้นใยเดียวกัน หยกเนฟไฟรต์มีความแข็ง 6-6.5 มีความวาวแบบแก้วถึงน้ำมัน สีมีความเฉพาะตัวเหมือนหยกเจไดส์ แต่มีสีเข้มไม่เท่า และมีสีมืดมากกว่า พบว่าเกิดจากหินเดิมที่มีธาตุแมกนีเซียมแปรสภาพด้วยความร้อน

ถ้ากล่าวถึงความเชื่อในเรื่องหยกนั้น มีมานานแล้ว เพราะเป็นอัญมณีที่มีตำนานเชื่อถือและผูกพันกับชีวิตชาวจีนมายาวนาน ตั้งแต่อดีตกาลหลายพันปีมาแล้ว ชาวจีนได้นำ หยก มาใช้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายไป โดยมีความเชื่อมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ประมาณ 7,000 ปีก่อน ว่าหยกนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความมีโชคลาภแก่ผู้ได้ครอบครอง และทำให้อายุยืนยาวอีกด้วย

จะเห็นได้จากชาวจีนในสมัยก่อน มักนิยมใช้หยกเป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะช่วยปกป้องให้ปลอดภัยและนำสิ่งดีๆ มาสู่ชีวิต โดยนิยมให้ลูกหลานของตนเอง พกหยกติดตัวตลอดเวลา ถ้าเป็นเด็กผู้หญิง จะให้สวมกำไลหยก ปิ่นหยก และจี้หยก เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเด็กผู้ชายจะให้พกเครื่องใช้ที่ทำด้วยหยก เรามักจะเห็นคนจีนสูงอายุ ใส่กำไรหยกแล้วไม่ถอดเลย โดยมีความเชื่อว่าถ้าหยกสีขุ่น แสดงว่าสุขภาพไม่ดี ถ้าแตกหรือร้าวจะบอกเหตุร้ายที่จะเกิด นอกจากนี้ในราชวงศ์จีนสมัยก่อน พระเจ้าจักรพรรดินิยม ใช้หยกเป็นตราส่วนพระองค์ แหวน และคฑา เมื่อเสียชีวิตจะนำหยกลงไปฝังด้วยกันกับศพ เพราะมีความเชื่อว่าหยกสามารถรักษาสภาพศพ ไม่ให้เน่าเปื่อยได้ จะเห็นได้จากการขุดพบฉลองพระองค์หรือเสื้อผ้าของจักรพรรดิในราชวงศ์จีนหลายพันปีมาแล้ว

ปัจจุบันหยกยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน ไต้หวัน ประเทศไทย และยุโรป โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีนได้นิยมนำหยกมาใช้เป็นเครื่องประดับ เช่นกำไล แหวน สร้อย ฯลฯ ด้วยความเชื่อที่ว่าทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้ รวมถึงเป็นเครื่องรางสำหรับป้องกันตัว โดยนำมาแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตามความเชื่อที่ว่าสัตว์จะเกื้อหนุนการดำเนินชีวิต เช่น ปีเซี้ยะ กิเลน เต่าและสิงโต

นอกจากนี้ด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนา ได้นำหยกมาแกะสลักเป็นวัตถุมงคลต่างๆ พระพุทธรูป และเจ้าแม่กวนอิม เพื่อกราบไหว้บูชา เพราะมีความเชื่อถึงพลังเร้นลับของหยก สามารถผลักดันให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้บูชา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถดลบันดาลให้เกิดความสำเร็จตามที่ปรารถนา วันนี้ Horoscope.mthai.com มีมานำเสนอค่ะ

หยก เป็นหินที่มีตำนานและความเชื่อที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวจีนมาเป็นเวลานาน ในวัฒนธรรมของชาวจีนมีการนำหยกมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรม และนิยมนำมาทำเป็นสิ่งของเครื่องประดับ ตลอดจนงานศิลปวัตถุ เครื่องราง รูปสัญลักษณ์ หรือรูปเคารพต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับความศรัทธาและความเชื่อในเรื่องพลังอำนาจแห่งหินศักดิ์สิทธิ์นี้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ การนำหยกมาใช้ไม่เพียงแต่ปรากฏในวัฒนธรรมของชาวจีนเท่านั้น แต่ยังส่งอิทธิพลไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมไปถึงประเทศที่ได้รับการติดต่อสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน และพบว่ามีทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินที่มีการนำหยกมาใช้ในงานเครื่องประดับและเครื่องยศอีกด้วย

ความหมายของหยก

หยก ถือเป็นหินชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีความแข็งกว่าหินธรรมดาทั่วไป อีกทั้งยังมีความสวยงามเฉกเช่นอัญมณีชนิดอื่นๆ
หยก หรือ Jade ในภาษาอังกฤษ มาจากคำในภาษาสเปนว่า “Piedra de hijada” หมายถึง เทพเจ้าแห่งหินทั้งปวง ใช้สำหรับรักษาโรคไตและอาการจุกเสียด ภาษาพม่า เรียกว่า “เจ้าเซง” หมายถึง หินที่มีสีเขียว
ในภาษาจีนกลาง หยกเป็นที่รู้จักว่า “หยู หรือ ยู่” หมายถึง งดงามและสมบูรณ์แบบ ชาวจีน ถือว่าหยกเป็นอัญมณีที่มีค่าสูงสุด ความนิยมของชาวจีนปรากฏในประวัติศาสตร์จีนครั้งแรก เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว มีปรัชญาจีนที่เปรียบเทียบลักษณะของหยกกับจิตใจของมนุษย์ในวรรณคดีเก่าแก่ของจีน

ชนิดของหยก

หยก สามารถแบ่งได้จากการพิจารณาโครงสร้างภายในตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด [๒] ดังนี้

๑. หยกเจดไดต์ (Jadeite) หรือหยกพม่า

เป็นหยกที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก มีแหล่งกำเนิดอยู่ในแถบรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า หยกเจดไดต์ถือว่าเป็นหยกหินมีค่าชนิดหนึ่งที่เกิดจากหินแปรที่มีส่วนผสมของธาตุกรดเกลือ อลูมิเนียม และโซเดียม ทับถมกันหนาแน่น จนเกิดเป็นหินที่มีสีสันต่างๆ มีเนื้อใส และมีหลากหลายสี ซึ่งล้วนแต่เป็นสีที่เกิดจากธาตุโลหะที่แทรกอยู่ในโครงสร้าง หากไม่มีธาตุโลหะปะปนจะมีเนื้อสีขาวบริสุทธิ์และใส โดยธาตุโลหะที่ทำให้เกิดสีในหยกเจดไดต์ที่สำคัญ ได้แก่
ธาตุโครเมียม – ทำให้เกิดสีขาว
ธาตุเหล็ก – ทำให้เกิดสีเหลือง น้ำตาลถึงส้ม
ธาตุแมงกานีส – ทำให้เกิดสีชมพู และม่วงน้ำตาล
นอกจากองค์ประกอบสำคัญข้างต้นแล้ว หยกเจดไดต์ยังถือว่ามีความแข็งอยู่ในระดับสูง โดยมีความแข็งที่ระดับ ๗ – ๘.๕ ตามมาตรฐานสเกลของโมห์ [๓] โครงสร้างในมวลของหยกเจดไดต์นั้น เป็นแบบเม็ดอัดกันแน่น หรือที่เรียกว่า แกรนนูล่า (Granular) จึงทำให้หยกเจดไดต์มีความแข็งมากกว่าหินและไม่เปราะหรือแตกง่ายเมื่อเทียบกับพลอยเนื้อใสต่างๆ หยกเจดไดต์ จึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นเครื่องประดับที่มีราคาสูงเช่น หัวแหวน จี้ กำไลข้อมือ

หยกเจดไดต์ ที่มีคุณภาพดีที่สุด และมีราคาแพงที่สุด ได้แก่ หยกจักรพรรดิ (Imperial Jade) ลักษณะคือมีสีเขียวปานกลางไปจนถึงสีเขียวเข้มเสมอทั่วกันทั้งชิ้น กึ่งโปร่งใสจนมองทะลุไปถึงด้านหลัง แหล่งที่พบอยู่ที่ประเทศพม่า ถือเป็นหยกที่ดีที่สุดในโลก และค่อนข้างหายาก เป็นของคู่บุญคู่บารมีของกษัตริย์หรือพระเจ้าจักรพรรดิ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกหยกสีเขียวมรกตนี้ว่า “หยกจักรพรรดิ” นั่นเอง

๒. หยกเนฟไฟรต์ (Nephrite) หรือหยกจีน

เป็นหยกชนิดแรกๆ ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นหยกที่พบเป็นจำนวนมากและอยู่คู่กับแผ่นดินจีนมานานนับพันปี ชาวจีนมีความผูกพันกับหยกชนิดนี้มากกว่าชนชาติใดในโลก แหล่งของหยกเนฟไฟรต์ที่สำคัญของโลกอยู่ในบริติชโคลัมเบีย (British Columbia) ประเทศแคนาดา ห่างจากชายแดนด้านตะวันออกของ Alaska ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพบที่ประเทศไต้หวัน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย จีน สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย เป็นหินหยกที่ประกอบด้วยธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม และออกไซด์ของเหล็กปะปนอยู่ องค์ประกอบเหล่านี้ ทำให้หาหยกเนฟไฟรต์ที่มีสีเขียวใสประกายได้ยาก อีกทั้งหยกเนฟไฟรต์ยังมีสีสันไม่มากนัก ที่พบส่วนมากมักจะมีสีเขียวใบไม้อมดำ สีเทา สีน้ำตาล ไปจนถึงสีขาว และมักจะมีจุดสีดำที่เกิดจากออกไซด์ของธาตุเหล็กแทรกอยู่ สำหรับความแข็งของหยกเนฟไฟรต์นั้นอยู่ที่ระดับ ๕ – ๖ ตามมาตรฐานสเกลของโมห์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าหยกเจดไดต์อยู่พอสมควร ด้วยเหตุนี้ หยกเนฟไฟรต์จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “หยกอ่อน”
แม้ว่าหยกเนฟไฟรต์จะมีคุณสมบัติและสีสันที่ด้อยกว่าหยกเจดไดต์ แต่ก็มีคุณสมบัติที่โดดเด่นบางประการ คือ ความเหนียวแน่นของเนื้อหยก เนื่องจากโครงสร้างที่ถักทอเป็นเส้นใยที่หนาแน่นทั่วเนื้อของหยก โดยที่เส้นใยแต่ละเส้นนั้น มีลักษณะเป็นแท่งผลึกอยู่ภายใน ซึ่งเหมาะแก่การนำมาแกะสลักเป็นรูปทรงต่างๆ หยกเนฟไฟรต์ หรือหยกจีนนั้นจึงมักจะถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปและขนาดต่างๆ ตามต้องการ เช่น รูปสลักพระพุทธรูป รูปปั้นเทพเจ้าจีนต่างๆ ตราประทับหยก เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ถ้วยชาม แจกัน หรือเครื่องประดับอื่นๆ เช่น กำไล แหวน เป็นต้น

หยกกับการนำมาใช้

หยก นอกจากจะเป็นหินที่มีความสวยงามแข็งแรงทนทานแล้ว ยังถือเป็นเครื่องประดับอันสวยงามที่แสดงถึงสถานะทางสังคม อีกทั้งยังมีการนำมาทำเป็นภาชนะเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนิยมนำหยกมาแกะสลักเป็นจาน ชาม แก้วน้ำ ตะเกียง โต๊ะ และอาวุธ รวมถึงการนำมาแกะสลักเป็นรูปเคารพหรือรูปสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งความนิยมในการนำหยกมาทำเป็นเครื่องใช้ต่างๆ นี้ เริ่มต้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉาง (Shang) (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และราชวงศ์โจว (Zhou) (1046-256 ปีก่อนคริสต์ศักราช) โดยเริ่มจากการนำหยกมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น อาวุธ ตราประจำตำแหน่งข้าราชการ เครื่องประดับ และทำเป็นรูปแกะสลักขนาดใหญ่เพื่อประดับบ้านเรือน
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่น (Han) (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 220) จึงเริ่มมีการนำหยกมาทำเป็นภาชนะเครื่องใช้ ที่มีลักษณะคล้ายเครื่องเคลือบ สมัยราชวงศ์หยวน (Yuan) (ค.ศ. 1279-1368) และราชวงศ์หมิง (Ming) (ค.ศ. 1368-1644) ได้นำหยกมาแกะสลักเป็นรูปคนและสัตว์ ในสมัยราชวงศ์ชิง (Qing) (ค.ศ. 1644-1912) ได้นิยมนำมาแกะสลักเน้นการเลียนแบบธรรมชาติ เช่น รูปดอกไม้ ผลไม้ และรูปสัตว์ [๔] เป็นต้น
โดยการนำหยกมาใช้ สามารถสรุปได้ตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้
๑. การนำหยกมาทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องประดับจากหยกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ กำไลหยก ซึ่งความนิยมนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการนำมาทำเป็นเครื่องประดับอื่นๆ เช่น แหวน สร้อย จี้ ต่างหู เข็มกลัด เป็นต้น
๒. การนำหยกมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ถ้วย ชาม แก้วน้ำ อาวุธต่างๆ เป็นต้น
๓. การนำหยกมาทำเป็นรูปเคารพหรือเครื่องราง เช่น รูปสลักพระพุทธรูป เทพเจ้าจีน สัตว์มงคลต่างๆ หรือรูปสัญลักษณ์มงคลของจีน สำหรับพกติดตัว และใช้เคารพบูชา

หยก : ศรัทธาและความเชื่อ

เนื่องจากหยกเป็นหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สำหรับชาวจีนมีความเชื่อว่ากว่าจะกลายเป็นหยกได้นั้น ต้องใช้เวลานับล้านๆ ปี ในการซึมซับพลังจากจักรวาล อันประกอบไปด้วย พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ และพลังงานความเย็นจากดวงจันทร์ รวมไปถึงพลังงานจากดวงดาวต่างๆ ชาวจีนจึงถือว่าหยกเป็นหินที่เป็นแหล่งรวมพลังของชีวิต อีกทั้งยังสามารถสื่อสารระหว่างโลกกับจักรวาล รวมไปถึงสวรรค์ ทำให้เกิดเป็นความเชื่อว่า การจะเดินทางไปสู่สวรรค์ได้นั้น ต้องใช้หยกเป็นสื่อ ชาวจีนจึงมักจะทำป้ายชื่อของตนขึ้นมาจากหยก เพื่อใช้เป็นเส้นทางที่นำไปสู่สวรรค์เมื่อเสียชีวิตลง หรือใช้เป็นป้ายประจำตระกูล อันเป็นเครื่องหมายของการสืบทอดเชื้อสายของตระกูลนั้นๆ
นอกจากนี้ ยังมีความนิยมนำหยกมาทำเป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับพกติดตัวหรือใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความเชื่อว่าหยกนั้นช่วยปกป้องคุ้มครอง และนำสิ่งดีๆ มาสู่ชีวิต การสวมใส่เครื่องประดับจากหยก นอกจากจะสวมใส่เพื่อความสวยงามและความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังมีความเชื่อว่าสามารถสวมใส่หยกเพื่อทำนายสุขภาพหรือทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย เช่น ถ้าหยกที่กำลังสวมใส่อยู่นั้นมีสีสันสดใส หมายถึง เจ้าของหยกกำลังจะมีโชค แต่หากหยกที่สวมใส่อยู่มีสีสันมัวหมอง หมายถึง เจ้าของหยกกำลังจะมีเคราะห์ เป็นต้น
ในราชสำนักจีน มีความเชื่อว่า หยก เป็นสัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิที่พระราชทานให้กับข้าราชบริพารที่มีความดีความชอบ มีการมอบ “ปี้” ซึ่งหมายถึง แผ่นป้ายวงกลมเจาะรูตรงกลางอันเป็นสัญลักษณ์แห่งสวรรค์ และเป็นสิ่งที่พระจักรพรรดิจีนมักจะมอบให้แก่เหล่าขุนนาง เพื่อเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศ อีกทั้งยังมีการนำหยกมาแกะสลักอย่างประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างชั้นสูง โดยทำเป็นตราพระราชลัญจกร พระธำมรงค์ พระคทา หรือพระที่นั่งสำหรับพระจักรพรรดิ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แสดงพระราชอำนาจของพระองค์ [๕] เนื่องจากมีความเชื่อว่า หยกเป็นหินแห่งสรวงสวรรค์ (Stone of Heaven) จึงเหมาะสมที่จะเป็นภาชนะใช้สอยสำหรับโอรสแห่งสวรรค์ (Son of Heaven) อันหมายถึง พระจักรพรรดิ นั่นเอง แม้เมื่อสวรรคตแล้ว ในราชสำนักจีนยังมีความเชื่อว่า พลังแห่งหยกจะช่วยรักษาร่างกายให้เป็นอมตะ ศพไม่เน่าเปื่อย มีการพบหลักฐานเกี่ยวกับความเชื่อนี้จากการค้นพบหลุมฝังศพในสมัยราชวงศ์ฮั่น ภายในอุโมงค์ฝังพระศพของเจ้าชายหลิวเซิง (Liu Sheng) และหลุมฝังศพของพระชายาโตววุน (Dou Won) มีการทรงฉลองพระองค์ที่ทำจากการนำเอาแผ่นหยกบางๆ มาร้อยด้วยด้ายทองคำ เพื่อรักษาพระศพ และภายในโลงพระศพยังพบปี้อยู่รายรอบ ด้วยความเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์พาดวงพระวิญญาณไปสู่สรวงสวรรค์ [๖] รวมไปถึงความเชื่อเกี่ยวกับการนำหยกมาบดเป็นผงละเอียดผสมกับน้ำดื่ม เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงทนทาน มีพละกำลัง และสร้างความกล้าหาญ

ไม่ใช่แต่เฉพาะชาวจีนเท่านั้นที่มีศรัทธาและความเชื่อเกี่ยวกับหยก ชาวแอซแท็คในเขตละตินอเมริกา ก็มีความนิยมใช้หยกเช่นเดียวกับชาวจีน ชาวแอซแท็คมีความเชื่อว่า หากสวมใส่หยกบริเวณเอวจะช่วยรักษาอาการปวดท้องและปวดเอวให้หายได้ [๗] ในวัฒนธรรมของชาวเมารีบนเกาะในประเทศนิวซีแลนด์ก็ปรากฏความเชื่อเช่นเดียวกันนี้ โดยชาวเมารีถือว่าหยกเป็นเครื่องหมายสืบทอดอำนาจภายในวงศ์ตระกูล [๖] สำหรับในดินแดนอียิปต์โบราณ มีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีการนำหยกไปใส่ไว้ในปากของผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นชนชั้นสูง เพื่อใช้เป็นสิ่งแทนหัวใจ

นอกจากการแกะสลักหยกเป็นรูปต่างๆ ตามความเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลกับผู้ที่ได้ครอบครองแล้ว สีของหยกก็มีความเชื่อและความนิยมที่มีความหมายแตกต่างกัน เช่น
หยกสีเขียว เป็นสีที่นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย ชาวจีนมีความเชื่อว่าหยกสีเขียวเป็นต้นกำเนิดของเงินทองไหลมาเทมาจึงเป็นสีที่นิยมกันมาก
หยกสีขาว เป็นสีที่สื่อนำเอาความโชคดีมาสู่ผู้เป็นเจ้าของ เป็นสัญลักษณ์พลังจิตใจที่ใสสะอาดและความบริสุทธิ์ผุดผ่อง รวมถึงความมีอายุยืน
หยกสีม่วง เป็นสีที่ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์มีความสุข ช่วยรักษาด้านอารมณ์และความอดกลั้นของผู้สวมใส่
หยกสีแดง เป็นสีที่สื่อให้เกิดการรับรู้ในอารมณ์ความรักได้ดี ช่วยลดความโกรธและความเครียดต่างๆ
หยกสีเหลือง เป็นสีที่ก่อให้เกิดสัญลักษณ์แห่งการกระตุ้นชีวิตชีวาให้เต็มไปด้วยความสุขสนุกสนาน และเพิ่มพลังให้กับผู้ที่สวมใส่ เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาและความเชื่อเกี่ยวกับหยกที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นสิริมงคล ความดีงาม ความมีพลังอำนาจ และการนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ จึงทำให้หยกมีความแตกต่างจากอัญมณีชนิดอื่นๆ

หยกกับทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน

ในประเทศไทย แม้ความนิยมเกี่ยวกับหยกจะเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม และไม่แพร่หลายเท่าประเทศจีนมากนัก แต่ยังพบว่ามีการนำหยกมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป หรือรูปเคารพต่างๆ เช่นเดียวกัน โดยพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกเนฟไฟรต์ ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวไทยให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคที่มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศทางตะวันตกอย่างแพร่หลาย ยังปรากฏการทำเครื่องประดับและสิ่งของเครื่องใช้จากหยกในรูปแบบต่างๆ ด้วยฝีมือช่างทองหลวงจากตะวันตก สำหรับนำมาจัดถวายแก่ราชสำนัก เช่น ตลับพระโอสถหยก ตัวตลับทำจากหยกเนฟไฟรต์ จัดทำโดยห้างฟาร์แบร์เฌ่ เพื่อจัดถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินที่จัดแสดงอยู่ ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ บางชิ้นได้มีการนำหยกมาทำเป็นเครื่องประดับร่วมกับทองคำหรืออัญมณีชนิดอื่นๆ โดย สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
๑. เครื่องราชูปโภค ได้แก่ ถ้วยชาพร้อมฝาหยก สำหรับพระราชทานเป็นเครื่องยศแก่เจ้านายชั้นเจ้าฟ้า

๒. เครื่องประดับ ได้แก่ แหวนทองคำหัวหยกรูปมังกรประดับเพชรซีก ซึ่งมีลักษณะเป็นแหวนตรา สำหรับพระราชทานให้แก่เจ้านายหรือขุนนางชั้นสูง รวมไปถึงหน้าจั่นทองคำขอบหยก และกระดุมหยกเรือนทองคำ สำหรับประดับตกแต่งเครื่องแต่งกาย เพื่อความสวยงามอีกด้วย

กล่าวโดยสรุป จากความเชื่อและความศรัทธาเกี่ยวกับหยกของชาวจีนที่ถูกสั่งสมมานานนับพันปี ได้มีการส่งต่อผ่านทางวัฒนธรรมไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของหยกที่มีคุณค่าคู่ควรแก่พระเจ้าแผ่นดินและราชสำนักชั้นสูง เนื่องจากชาวจีนถือว่าหยกเป็นหินแห่งสรวงสวรรค์อันล้ำค่า ควรค่าแก่พระเจ้าแผ่นดินซึ่งถือเป็นโอรสแห่งสวรรค์ ดังจะเห็นได้จากการสร้างสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องประดับจากหยก สำหรับถวายแก่พระเจ้าแผ่นดิน

ความเชื่อเรื่องหยก

1. ความศักดิ์สิทธิ์ของหยก ในการปกป้องคุ้มครองชีวิต จึงนิยมให้สวมใส่หยกติดตัวตั้งแต่เด็ก

2. ความปรองดองในที่ทำงาน เช่น การนำจักจั่นหยกมาตั้งไว้บนโต๊ะที่ทำงาน จะทำให้การทำงานราบรื่นขึ้น ทั้งกับเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย

3. ทำให้จิตใจสงบ อายุยืน โดยการนำหยกมาบดละลายน้ำค้างแล้วดื่ม บางคนกล่าวกันว่า การนำหยกมาแช่ในน้ำสะอาดแล้วดื่ม จะช่วยต้านทานโรคได้และหากนำมาสวมใส่ จะช่วยสร้างสมดุลกับร่างกายและจิตใจ เกิดความสงบในจิตใจ อายุยืน

วิธีการ พิสูจน์ว่าหยกเป็นของแท้หรือไม่
หยกเป็นหินสวยงาม อาจมีสีเขียว ส้ม เหลือง หรือขาว และสามารถจำแนกเกรดเป็นสูง กลาง ต่ำ ได้ตามคุณภาพของเนื้อหยก ถ้าคุณกำลังจะออกไปหาซื้อหยกหรือมีหยกเก่าอยู่ชิ้นหนึ่ง การที่คุณสามารถรู้ได้ว่าหยกที่คุณพบเป็นของแท้หรือแค่ของปลอมชั้นดีก็น่าจะดีไม่เบา และการเรียนรู้วิธีดูหยกแท้หยกเทียมโดยอาศัยเพียงการทดสอบที่ทำได้ง่ายๆ และรวดเร็วของเรา ก็ทำให้คุณพิสูจน์ได้แล้วว่าของที่ซื้อมาจะคุ้มค่าสมราคารึเปล่า ไม่รอช้า เราไปดูคำแนะนำเพิ่มเติมในขั้นตอนที่ 1 กันเลยดีกว่า

การสังเกตหยกแท้
ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหยกแท้. มีเพียงหยกเจไดต์และเนฟไฟรต์เท่านั้นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นของแท้
แร่เจไดต์ที่มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการมากที่สุด (เจไดต์พม่า, หยกพม่า, หยกจักรพรรดิ หรือหยกจีน) มักมีที่มาจากประเทศเมียนมาร์ (พม่าในสมัยก่อน) แต่ก็มีอีกเล็กน้อยที่ขุดพบแถบประเทศกัวเตมาลา เม็กซิโก และรัสเซีย แม้หยกจะมีที่มาจากหลากหลายแห่ง แต่สีที่พบส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นสีเขียว
75% ของหยกจากทั่วโลกมีที่มาจากเหมืองแร่ในรัฐบริติชโคลัมเบีย โดยเป็นชนิดเนฟไฟรต์ ซึ่งขุดพบในไต้หวัน สหรัฐ และ (อีกเล็กน้อยใน) ออสเตรเลียด้วยเช่นกัน

รู้วิธีการสังเกตแร่ที่ใช้ทำหยกปลอม. แร่ที่มักนำมาปลอมเป็นหยกได้แก่:
เซอร์เพนทีน (“หยกใหม่” หรือ “หยกสีมะกอก”)
พรีไนท์
อะเวนจูรีน ควอตซ์
กรอสซูลาร์ การ์เน็ต (“หยกทรานส์วาล”)
คริสโซเพรส (“หยกออสเตรเลีย” ส่วนใหญ่มาจากรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย)
หยกมาเลเซีย (แร่ควอตซ์โปร่งแสงย้อมสีถาวร อาจเรียกชื่อได้ตามสีที่ปรากฏ เช่น หยกแดง หยกเหลือง หยกน้ำเงิน
หินอ่อนโดโลมิติกสีทึบ (“หยกภูเขา” จากเอเชีย ย้อมสีสันสดใส)
หินทรายเขียวจากนิวซีแลนด์หรือ “โปว์นามู” เป็นหินศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมารี ชาวเมารีจัดแบ่งโปว์นามูออกเป็น 4 ชนิดหลักๆ ตามสีและความโปรงใส ได้แก่ “คาวาคาว่า, กาฮูรางิ และอินันกา” ซึ่งเป็นหินประเภทเนฟไฟรต์ นอกจากนี้ ชาวเมารียังเคารพหินโปว์นามูชนิดที่ 4 ที่ชื่อว่า “ทันกิไว” ซึ่งพบบริเวณอ่าวมิวฟอร์ดซาวน์ ที่แม้จะมีมูลค่าสูง แต่ก็จัดเป็นหินโบวีไนต์และหยกแท้ในสายตาประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

ยกหยกขึ้นส่องดูกับแสงไฟ. ถ้าเป็นไปได้ อาจจะใช้แว่นขยาย 10 เท่าเพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในหยก คุณมองเห็นเส้นใยหรือเม็ดเล็กๆ ที่พาดพันกันเหมือนใยหินในนั้นรึเปล่า ถ้าเห็นล่ะก็ หินในมือคุณก็น่าจะเป็นเนฟไฟรต์หรือเจไดต์ของแท้ ในทางกลับกัน หินคริสโซเพรสจะเป็นเพียงผลึกเล็กๆ ที่รวมตัวกัน จึงอาจทำให้ดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน
ถ้าใช้แว่นขยาย 10 เท่า แล้วมองเห็นอะไรสักอย่างที่มีลักษณะคล้ายเป็นชั้นๆ แสดงว่าหินที่คุณกำลังส่องน่าจะเป็นเจไดต์ที่ถูกต่อเป็น “สอง” หรือ “สาม” ชั้น (บางครั้งอาจจะมีการนำไจไดต์เกรดอัญมณีแผ่นบางๆ มาติดบนฐานหินชนิดอื่น)

เรียนรู้วิธีการสังเกตเทคนิคการปลอมแปลง. แม้หยกที่คุณถืออยู่ในมือจะเป็นของแท้ แต่ก็อาจผ่านกระบวนการย้อมสี ฟอกสี เคลือบโพลีเมอร์ให้คงตัว หรือทำเป็นหยก 2 หรือ 3 ชั้น หยกอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามความเป็นไปได้ต่อไปนี้:
ประเภท A – หยกธรรมชาติ ไม่ผ่านกระบวนการแต่งเติม ใช้เพียงวิธีการดั้งเดิม (ล้างด้วยน้ำลูกพลัมและขัดด้วยขี้ผึ้ง) ไม่ผ่าน “กระบวนการที่ไม่เป็นธรรมชาติ” (เช่น การให้ความร้อนหรือแรงดันสูง) หยกประเภทนี้จะมีสี “จริง” ตามธรรมชาติ
ประเภท B – ผ่านการฟอกสีด้วยสารเคมีเพื่อลบความไม่บริสุทธิ์ ฉีดโพลีเมอร์ด้วยเครื่องเหวี่ยงสารเพื่อเพิ่มความโปร่งแสง หรือเคลือบด้วยพลาสติกหนาใส หินประเภทนี้จะไม่ทนทานและอาจเปลี่ยนสีเมื่อเวลาผ่านไป เพราะโพลีเมอร์แตกตัวเมื่อโดนความร้อนหรือสารทำความสะอาดภายในบ้าน อย่างไรก็ตาม หยกประเภทนี้ยังถือเป็นหยกแท้ 100% และสีธรรมชาติ 100%
ประเภท C – ผ่านการฟอกสีด้วยสารเคมี ย้อมเพิ่มสี สีอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเมื่อถูกแสงจ้า ความร้อนจากร่างกาย หรือสารทำความสะอาดภายในบ้าน

โยนหินขึ้นไปในอากาศและคว้าไว้ด้วยฝ่ามือ. หยกแท้จะมีความหนาแน่นสูงมาก ซึ่งหมายความว่าจะหนักกว่าที่เห็น ถ้าโยนแล้วผลปรากฏว่าหยกของคุณหนักกว่าหินขนาดเดียวกันทั่วๆ ไป และผ่านการทดสอบด้วยสายตาเรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าหยกของคุณมีแนวโน้มเป็นของแท้[1]
วิธีทดสอบนี้อาจจะดูไม่ค่อยเที่ยงตรงแต่ก็ได้ผลพอสมควร อีกทั้งยังเป็นวิธีที่บรรดาผู้ซื้อขายอัญมณีเคยใช้กันอย่างกว้างขวาง

เคาะหินเข้าด้วยกัน. อีกหนึ่งวิธีการดั้งเดิมในการพิสูจน์ความหนาแน่นของหินโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดใดๆ คือการสังเกตเสียงของลูกปัดพลาสติกที่สัมผัสกันเบาๆ ถ้าคุณมีหยกชิ้นหนึ่งที่มั่นใจว่าเป็นของแท้ ให้กระทบหยกชิ้นนั้นเข้ากับหินต้องสงสัย ถ้าเสียงฟังดูเหมือนลูกปัดพลาสติกกระทบกัน แสดงว่าหินก้อนนั้นน่าจะเป็นของปลอม แต่ถ้าเสียงกระทบฟังดูนุ่มลึกและกังวานกว่า แสดงว่าอาจจะเป็นของแท้

ถือหยกไว้ในมือ. หยกควรจะเย็นๆ เรียบลื่น และรู้สึกคล้ายๆ สบู่ในมือคุณ และถ้าเป็นของแท้ จะต้องใช้เวลาสักพักกว่าหยกจะรู้สึกอุ่นขึ้นมา วิธีการนี้จะได้ผลดีที่สุดถ้าคุณสามารถเปรียบเทียบกับหยกแท้ที่มีรูปร่างและขนาดคล้ายๆ กันได้

ทดสอบด้วยการขีดข่วน. หยกเป็นหินที่แข็งมากจนทำให้แก้วหรือแม้แต่โลหะเป็นรอยได้เลยทีเดียว แต่ต้องเตือนก่อนว่า หยกเนฟไฟรต์จะอ่อนกว่าเจไดต์ค่อนข้างมาก การขีดทดสอบโดยไม่ถูกวิธีจึงอาจทำให้อัญมณีแท้ของคุณเสียหาย นอกจากนี้ ถึงแม้หินของคุณจะทำให้แก้วหรือเหล็กเป็นรอยได้ แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเป็นแร่ชนิดอื่นที่นิยมนำมาทำหยกปลอม เช่น ควอตซ์และพรีไนท์สีเขียวหลายๆ ชนิด
ใช้ด้านทื่อของกรรไกรกดลงเบาๆ และลากเส้นไปบนชิ้นหยก โดยพยายามลากบริเวณใต้ๆ เข้าไว้เพื่อไม่ให้งานสลักของคุณเสียหาย
หลีกเลี่ยงบริเวณที่โดนลมโดนแดด เพราะบริเวณนี้มักจะอ่อนกว่าจุดอื่นๆ และอาจเสียหายได้ง่าย ถ้าการขีดทำให้เห็นเป็นเส้นสีขาวๆ ให้เช็ดคราบออกเบาๆ (อาจเป็นแค่เศษโลหะจากกรรไกร) แล้วสังเกตว่ายังมีรอยขีดข่วนหลงเหลืออยู่รึเปล่า ถ้ามีล่ะก็ หยกของคุณไม่น่าจะเป็นของแท้แล้วล่ะ

หารน้ำหนักของสสารด้วยปริมาตร. หินเจไดต์และเนฟไฟรต์ล้วนมีความหนาแน่นสูงมาก (เจไดต์ – 3.3, เนฟไฟรต์ – 2.95) ความหนาแน่นของสสารสามารถวัดได้โดยการหารน้ำหนัก (เป็นกรัม) ด้วยปริมาตร (ซีซี)

ใช้คลิปปากจระเข้หนีบชิ้นหยกไว้. ถ้าเครื่องชั่งของคุณไม่มีคลิปจระเข้ อาจจะนำเชือก หนังยาง หรือยางรัดผมมารัดหยกที่ต้องการทดสอบไว้[2]

ยกเครื่องชั่งสปริงขึ้นโดยจับที่หูด้านบนเพื่อชั่งหินให้ได้หน่วยเป็นกรัม. จดบันทึกน้ำหนักที่ได้ไว้ การใช้เครื่องชั่งที่บอกน้ำหนักเป็นกรัมถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้แรงดึงเป็นหน่วยวัดกำลัง

หย่อนหยกให้จมลงไปในถังน้ำ และจดน้ำหนักขณะอยู่ในถังน้ำ. ตัวหนีบอาจสัมผัสกับน้ำได้ แต่ไม่ควรให้มีผลต่อน้ำหนักมากนัก
แต่ถ้ายังกังวล คุณอาจจะใช้ทางเลือกอื่นๆ ที่อธิบายไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม การทดสอบนี้จะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของน้ำหนัก และความแตกต่างนี้จะยังคงเดิม ตราบใดที่เชือก หนังยาง หรือยางรัดผมยังอยู่บนหยกทั้งในอากาศและในน้ำ

คำนวณปริมาตรของหยก. หารน้ำหนักในอากาศด้วย 1000 (หรือ 981 ถ้ามีเครื่องคิดเลขอยู่ใกล้มือ) และหักค่าน้ำหนักในน้ำโดยการหารด้วย 1000 (หรือ 981 ถ้ามีเครื่องคิดเลขอยู่ใกล้มือ) ค่าที่ได้คือมวลในอากาศหน่วยเป็นกรัมและมวลที่ปรากฏเมื่ออยู่ในน้ำ ให้ลบค่าที่ได้ในอากาศด้วยค่าที่ได้ในน้ำเพื่อคำนวณหาปริมาตรเป็นซีซี

ปรียบเทียบค่าที่ได้กับหยกจริง. เมื่อคำนวณความหนาแน่นของหยกต้องสงสัยได้แล้ว ให้ดูว่าค่าที่ได้บ่งชี้ว่าหยกชิ้นนั้นเป็นของแท้รึเปล่า หยกเจไดต์จะมีค่าความหนาแน่นอยู่ที่ 3.20-3.33 กรัม/ซีซี ในขณะที่เนฟไฟรต์จะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 2.98-3.33 กรัม/ซีซี

เคล็ดลับ

ถ้าคุณหลงใหลในหยกและอยากได้ของคุณภาพสูงจริงๆ หยกที่คุณซื้อควรจะมีใบรับรองจากห้องแล็บที่ยืนยันว่าหยกชิ้นนั้นเป็นอัญมณีเกรด “A” ร้านจำหน่ายปลีกอัญมณีคุณภาพสูงที่เป็นที่ยอมรับส่วนใหญ่จะจำหน่ายเฉพาะสินค้าเกรด A เท่านั้น
ถ้ามีฟองอากาศอยู่ในหยก แสดงว่าไม่ใช่ของแท้แน่นอน

วิธีการขีดทดสอบอาจทำให้หยกเนฟไฟรต์คุณภาพสมบูรณ์เสียหายได้
หยกที่มีมาแต่โบราณมักมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ถ้าคุณเห็นผู้ขายมีหยกหลากหลายรูปแบบที่ดูคล้ายๆ กัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนอันตราย อาจจะลองถามคำถามหลายๆ ข้อและขอใบรับรองว่าเป็นของแท้เพิ่มเติม
ห้ามใช้วิธีขีดทดสอบกับหยกที่คุณไม่ได้เป็นเจ้าของโดยเด็ดขาด เพราะถ้าคุณทำให้ของๆ เขาเสียหาย คุณจะถูกบีบให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นแน่แท้ และต้องไม่ลืมเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนเริ่มทดสอบ

ำหรับการทดสอบความหนาแน่น:
เครื่องชั่งสปริง (100 กรัม, 500 กรัม หรือ 2500 กรัม ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่คุณทดสอบ)
ถังน้ำ ขนาดใหญ่พอให้จุ่มชิ้นหยกลงไปได้
เชือก
ยางรัดผม
หนังยาง
กระดาษเช็ดมือ (สำหรับเช็ดหยกให้แห้ง)

แสดง %d รายการ

Show sidebar